คำถามที่พบบ่อย

การเข้าใช้บริการ (Access)

สำนักงานวิทยทรัพยากรเปิดให้บริการ และปิดบริการกี่โมง
ดูรายละเอียดเวลาเปิด-ปิด รายวัน (Daily) ที่นี่

ช่วงเวลาทำการปกติ

สำนักงานวิทยทรัพยากร (หอสมุดกลาง)

จันทร์-ศุกร์ 8:00-21:00 น.

เสาร์-อาทิตย์ 9:00-18:00 น.

ปิดบริการวันหยุดนักขัตฤกษ์

ห้องสมุดสาขาจามจุรี 10

จันทร์-ศุกร์ 12:00-19:00 น.

เสาร์-อาทิตย์ 9:00-18:00 น.

ปิดบริการวันหยุดนักขัตฤกษ์

ห้องสมุดสาขาจามจุรี 9

จันทร์-ศุกร์ 8:00-21:00 น.

เสาร์-อาทิตย์ 8:00-16:00 น.

ปิดบริการ เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ช่วงสอบ

สำนักงานวิทยทรัพยากร (หอสมุดกลาง)

จันทร์-อาทิตย์ เปิดบริการ 24/7 ชั้น 1-2

ห้องสมุดสาขาจามจุรี 10

จันทร์-อาทิตย์ เปิดบริการ 12.00-20.00 น. ชั้น 2

ห้องสมุดสาขาจามจุรี 9

จันทร์-อาทิตย์ เปิดบริการ 24/7 ชั้น 1

บุคคลภายนอกสามารถใช้บริการและยืมหนังสือได้ไหม

สำหรับบุคคลทั่วไป ก่อนเข้าใช้บริการห้องสมุด ต้องซื้อบัตรห้องสมุดประเภทรายวัน วันละ 20 บาท ที่เครื่องซื้อบัตรอัตโนมัติ

และถ้าต้องการยืมหนังสือออก โปรดสมัครสมาชิกห้องสมุดประเภทรายปี ซึ่งมีค่าใช้จ่าย ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่

วิธีเดินทางไปที่ห้องสมุด เดินทางไปอย่างไร

การเดินทางโดยรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) มีสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) ที่อยู่ใกล้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ สถานีสยาม (Siam Station) และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (National Stadium Station) จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเดินทางเข้ามาในมหาวิทยาลัยได้

การเดินทางโดยรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) มีสถานีสามย่าน (Samyan Station) เมื่อใช้ทางออกหมายเลข 2 จะเจออาคารจัตุรัสจามจุรี สามารถเดินมาเข้าประตูจุฬาฯ ฝั่งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และเดินต่อไปสถานีรถ Chula Pop Bus เพื่อขึ้นรถสาย 2 เดินทางลงป้ายครุศาสตร์

การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ขสมก ที่ผ่านมหาวิทยาลัย ถนนพญาไท ได้แก่ สาย 21 25 29 34 36 40 50 93 113 และ 141

สถานที่จอดรถ ณ อาคารจอดรถ 1 (อาคารจามจุรี 9)

โปรดดู ข้อมูลเพิ่มเติม และชมภาพบน Google Map ที่นี่

ชมคลิป VDO ที่นี่

ทำบัตรห้องสมุดได้ที่ไหน ใช้หลักฐานอะไรบ้าง

ติดต่อทำบัตรสมาชิกห้องสมุดที่เคาน์เตอร์บริการชั้น 1 One Stop Service

สถานภาพผู้สมัครเอกสารในการสมัคร
บุคลากรเกษียณอายุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาบัตรข้าราชการบำนาญจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาปริญญาบัตร หรือสำเนา Transcript หรือสำเนาบัตรสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นักเรียน นักศึกษาสถาบันอื่นสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาบัตรนักเรียน(ที่ยังไม่หมดอายุ) หรือสำเนาบัตรนักศึกษา(ที่ยังไม่หมดอายุ)
บุคคลทั่วไปสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาพาสปอร์ต (ชาวต่างประเทศ)

ดูข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่

หากต้องการเยี่ยมชมสำนักงานวิทยทรัพยากรเป็นหมู่คณะต้องทำอย่างไร

โปรดติดต่อฝ่ายบริหาร สำนักงานวิทยทรัพยากร โทรศัพท์ 02-218-2903 Fax. 02-215-3617 Email: chulalibrary@car.chula.ac.th และชมภาพการเยี่ยมชมห้องสมุด ที่นี่

ต้องการใช้ WiFi ภายในจุฬาฯ มีวิธีใดบ้าง

ช่องทางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในจุฬาฯ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สาย ที่ทุกคนก็เข้าถึงได้
ChulaWiFi สำหรับนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ
Chula-FreeWiFi สำหรับบุคคลทั่วไป
Chula Guest สำหรับผู้มาประชุม/เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานของจุฬาฯ
eduroam สำหรับนักศึกษา-บุคลากรสังกัดสถาบันอุดมศึกษาในไทยและต่างประเทศ ตรวจสอบเครือข่ายสมาชิก ที่นี่



การยืม-คืน-ต่ออายุ (Borrow-Return-Renew)

ยืมหนังสือได้ถึงกี่โมง

ท่านสามารถยืมหนังสือตลอดเวลาที่ห้องสมุดเปิดทำการค่ะ

ดูรายละเอียดเวลาเปิด-ปิด รายวัน (Daily) ที่นี่
ยืมหนังสือ ได้กี่เล่ม กี่วัน

ดูรายละเอียดการยืมทั้งจำนวนเล่มและจำนวนวัน ที่นี่

ช่วงปิดเทอมสามารถยืมหนังสือได้หรือไม่

โปรดตรวจสอบสมาชิกภาพของท่านที่เคาน์เตอร์บริการของห้องสมุด หากไม่มีค้างค่าปรับเกินจำนวนที่กำหนด หรือยังไม่ยื่นขอจบการศึกษา ท่านก็สามารถยืมหนังสือได้ปกติ

วารสารยืมได้หรือไม่ และยืมได้กี่วัน

ห้องสมุดไม่อนุญาตให้ยืมวารสารออกนอกห้องสมุดค่ะ สามารถใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น

CD และ DVD ที่มากับหนังสือยืมได้หรือไม่

ท่านสามารถติดต่อชั้น 3 ขอใช้บริการ CD และ DVD ที่มากับหนังสือได้ค่ะ อนุญาตให้ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น

CD, DVD ภาพยนตร์ /สารคดี/ คู่มือการสอน ยืมได้หรือไม่

ห้องสมุดไม่อนุญาตให้ยืม CD, DVD ภาพยนตร์ /สารคดี/ คู่มือการสอน ออกนอกห้องสมุดค่ะ อนุญาตสามารถใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น

หนังสืออ้างอิงยืมได้หรือไม่

ห้องสมุดไม่อนุญาตให้ยืมหนังสืออ้างอิงออกนอกห้องสมุดค่ะ สามารถใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น

ค่าปรับหนังสือวันละเท่าไหร่ และ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ คิดค่าปรับหรือไม่

ดูรายละเอียดค่าปรับ ที่นี่

ต้องการยืมหนังสือจากสถาบันฯ / มหาวิทยาลัยอื่น ต้องทำอย่างไร

โปรดติดต่อบริการยืมระหว่างห้องสมุด ที่เคาน์เตอร์บริการชั้น 1

ดูรายละเอียด ที่นี่

บุคคลภายนอกต้องการยืมหนังสือต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง

ท่านที่ต้องการยืมหนังสือ ต้องมีบัตรสมาชิกห้องสมุดจึงจะสามารถยืมหนังสือออกนอกห้องสมุดได้ แต่ถ้ายังไม่มีบัตรสมาชิกให้ดูรายละเอียดการสมัครสมาชิกที่นี่

ทำบัตรสมาชิกห้องสมุด/บัตรนักศึกษาหาย ต้องทำอย่างไร

นิสิตจุฬาฯ สามารถใช้ QR Code / Barcode ใน CUNEX ทดแทนได้ หรือติดต่อสำนักทะเบียนจุฬาฯ อาคารจามจุรี5

บุคลากรประเภทมีบัตรพนักงานมหาวิทยาลัย สามารถใช้ QR Code / Barcode ใน CUNEX ทดแทนได้ หรือติดต่อทำบัตรพนักงานมหาวิทยาลัยใหม่ที่งานบุคคล อาคารจามจุรี 5 ซึ่งบัตรจะเชื่อมโยงการเข้าใช้ห้องสมุดอยู่แล้ว

บุคลากรประเภทจ้างเหมา ติดต่อที่เคาน์เตอร์บริการชั้น 1 เพื่อออกบัตรใหม่ เสียค่าปรับบัตรหาย 50 บาท

บุคคลภายนอก (รายปี) ติดต่อที่เคาน์เตอร์บริการชั้น 1 เพื่อออกบัตรใหม่ เสียค่าปรับบัตรหาย 50 บาท

ต้องการจองหนังสือ/ทรัพยากร ที่มีคนยืมไปต้องทำอย่างไร
ท่านสามารถจองหนังสือ โดยตรวจสอบรายการหนังสือที่ต้องการผ่าน https://library.car.chula.ac.th/ และคลิกเมนู สำหรับจองหนังสือที่มีคนยืมออกไปแล้ว
ต้องการยืมหนังสือด้วยตนเองผ่านตู้ยืมอัตโนมัติ (Self Check) ต้องทำอย่างไร
ขั้นตอนการยืมหนังสือผ่านเครื่อง Self Check ดังนี้
  1. เลือกเมนู Borrow หรือ ยืมหนังสือ
  2. สแกนบัตรห้องสมุด และสำหรับเป็นนิสิตหรือบุคลากรใช้ Barcode ผ่านมือถือได้
  3. เอาหนังสือที่ต้องการยืมออกวางสแกนพร้อมกันทุกเล่ม
  4. ตรวจสอบจำนวนเล่มที่ยืมออกให้ครบถ้วน
  5. เลือกเมนูเพื่อส่งข้อมูลการยืม ได้ 3 แบบคือ Print / Email / No Receipt
จุดคืนหนังสือด้วยตนเองมีบริการตรงจุดไหนบ้าง
ห้องสมุดให้บริการจุดคืนหนังสือ มี 5 จุด ดังนี้
  1. นอกอาคารห้องสมุด ฝั่งโรงเรียนสาธิตฯ 1 จุด เป็นเครื่องคืนอัตโนมัติ (Book Drop)
  2. ภายในห้องสมุด มี 4 จุด คือ ชั้น 1 บริเวณใกล้เคาน์เตอร์บริการ มี 3 จุด เป็นเครื่องยืม-คืน-ยืมต่ออัตโนมัติ (Self Check) และ ชั้น 5 บริเวณหมวดหนังสือ 100,200,700,900 มี 1 จุด เป็นเครื่องยืม-คืน-ยืมต่ออัตโนมัติ (Self Check)
หากทำหนังสือหายต้องทำอย่างไร

โปรดติดต่อเคาน์เตอร์บริการชั้น 1

ต้องการยืมต่อ (Renew) ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดต้องทำอย่างไร
สำหรับการยืมต่อ มี 3 วิธี ดังนี้
  1. เครื่องยืม-คืน-ยืมต่ออัตโนมัติ (Self Check) เลือกเมนู Renew หรือ ยืมต่อ
  2. ที่เว็บ https://www.car.chula.ac.th/login.php
  3. ที่เว็บ https://library.car.chula.ac.th/ เลือกเมนู View Your Library Record
หากต้องยืมหนังสือใน OPAC ที่มีสถานะ cataloging ทำอย่างไร

โปรดคลิกที่เมนู Cataloging Request เพื่อกรอกข้อมูลการขอใช้บริการทรัพยากรเร่งด่วน

example



บริการของห้องสมุด (Library Services)

ร้านถ่ายเอกสารอยู่ที่ไหน

หอสมุดกลางจุฬาฯ มีบริการถ่ายเอกสาร 2 รูปแบบดังนี้

  1. บริการเครื่องถ่ายเอกสาร / เครื่องพิมพ์ / เครื่องสแกน ด้วยตัวเอง (Self-service: Photocopying / Printing / Scanning) มีพื้นที่บริการ 2 จุด คือ บริเวณฝั่งหนังสือจองภาษาไทยชั้น 1 และ TAIC ชั้น6
    ขั้นตอนการใช้งานด้วยตนเอง
    1. เติมเงินที่เคาน์เตอร์บริการ One Stop Service ชั้น 1
      • นิสิตจุฬาฯ ใช้บัตรนิสิต / บุคลากรจุฬาฯ ใช้บัตรพนักงานฯ
      • บุคคลภายนอกติดต่อซื้อบัตรเติมเงินชั่วคราว
    2. อ่านคู่มือการใช้บริการ Photocopying/Printing/Scanning ได้ ที่นี่
    3. อัตราค่าบริการ
      ประเภท ขาว - ดำ สี
      A3 A4 A3 A4
      ถ่ายเอกสาร 1.50 0.50 15.00 10.00
      พิมพ์งาน 3.00 1.00 15.00 10.00
      สแกน 0.50 0.50 0.50 0.50
    Self Printing


  2. บริการร้านถ่ายเอกสาร (Photocopy shop) มีเจ้าหน้าที่ให้บริการ 1 จุด คือ บริเวณใต้บันไดชั้น 1


ต้องการสร้างโปรแกรมการสอนออนไลน์หรือให้ช่วยผลิตสื่อมัลติมีเดีย ต้องทำอย่างไร

ติดต่อสอบถามค่าบริการผลิตสื่อได้ที่ ฝ่ายบริการข้อมูลสารสนเทศ ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร โทร. 02-2182946, 02-2181935 หรือ ตรวจสอบค่าบริการ ที่นี่

ต้องการทำละหมาด มีห้องสวดมนต์สำหรับมุสลิมไหม
ผู้รับบริการที่นับถือศาสนาอิสลาม สามารถใช้ห้องสวดมนต์ที่ชั้น 5 จำนวน 2 ห้อง แบ่งเป็น ห้องละหมาดชาย และห้องละหมาดหญิง

อยากใช้ห้องประชุม และให้จัดเลี้ยงอาหารให้ด้วย แต่เป็นบุคคลภายนอก มีบริการไหมคะ
สำนักงานวิทยทรัพยากร จัดให้มีบริการห้องประชุม อบรม สัมมนา พร้อมบริการจัดเลี้ยงอาหารว่างและอาหารกลางวัน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตลอดจนอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับดำเนินการประชุม อบรม สัมมนาภายในห้อง ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-2182901 หรือดูตัวอย่างห้องประชุม ที่นี่ และดูรายละเอียดการขอใช้บริการ ที่นี่
ถ้าทำของหาย (Lost) หรือเก็บของได้ (Found) ภายในห้องสมุด ต้องทำอย่างไร

ติดต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์บริการ One Stop Service ชั้น 1 หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-2929

ต้องการดูพื้นที่บริการของห้องสมุด

ตรวจสอบจาก Library Floor Plan ที่นี่



การค้นหาข้อมูล (Searching Information)

ต้องการสืบค้นหนังสือ/ทรัพยากรสารนิเทศ ในห้องสมุดต้องทำอย่างไร

เริ่มต้นค้นหาผ่านเว็บไซต์ห้องสมุด https://www.car.chula.ac.th/

ดูคู่มือการสืบค้นที่นี่

ต้องการคำแนะนำการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถสอบถามได้ที่ไหน

ติดต่อบริการสนับสนุนการวิจัย (Research Support Service) ที่นี่

หากต้องการดาวน์โหลดข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากนอกมหาวิทยาลัยต้องทำอย่างไร

โปรด login เข้า EZproxy login

ดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์จาก CUIR แล้ว ไม่สามารถพิมพ์ออกมาได้ ต้องทำอย่างไร?

ปัจจุบันสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายเรื่องการอนุญาตให้พิมพ์ไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มได้ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้ ท่านสามารถปลดล็อครหัสไฟล์วิทยานิพนธ์เหล่านี้ได้ โดยนำไฟล์ที่ต้องการพิมพ์ออกไปผ่านโปรแกรมการปลดล็อคไฟล์ PDF ที่มีอยู่ทั่วไปบนอินเทอร์เน็ตได้ด้วยตนเอง โดยเข้าไปยังเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการอยู่ทั่วไป อาทิ เช่น

  1. https://online2pdf.com/remove-pdf-password
  2. https://convertio.co/th/unlock-pdf/
  3. http://www.pdfunlock.com/
  4. http://www.ilovepdf.com/unlock_pdf
  5. https://smallpdf.com/unlock-pdf

ฯลฯ

วิธีการง่าย ๆ สำหรับการปลดล็อคไฟล์ มีขั้นตอน ดังนี้

  1. เลือกเว็บไซต์ใด ๆ ที่มีบริการการปลดล็อคไฟล์ โดยบนหน้าเว็บไซต์แต่ละแห่งจะมีคำแนะนำ / ขั้นตอน ในการปลดล็อคไว้ค่อนข้างชัดเจน
  2. ทำตามคำแนะนำบนหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ เช่น ให้อัพโหลดไฟล์วิทยานิพนธ์ที่ท่านดาวน์โหลดมาจาก CUIR แล้ว และต้องการปลดล็อคการพิมพ์เข้าสู่ระบบบนเว็บไซต์นั้น
  3. จากนั้นจะมีขั้นตอนให้คลิกเลือก convert หรือ Unlock ไฟล์นั้น ๆ
  4. เมื่อคลิกแล้วรอโปรแกรมทำงานสักครู่ เมื่อสิ้นสุดกระบวนการลบการเข้ารหัสจะมีขั้นตอนให้ท่านดาวน์โหลดไฟล์ดังกล่าวกลับมา เพื่อให้ท่านนำไฟล์ใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไฟล์ที่ได้รับการปลดล็อคเรียบร้อยแล้ว ไปสั่งพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ต่าง ๆได้ตามต้องการ



Advice on unlocking full-text theses for printing

Currently, the Office of Academic Resources, Chulalongkorn University has reversed the policy on permission for printing full-text theses for users’ convenience. You can unlock full-text theses by yourself by using programs available on the Internet. You can search for websites providing services to unlock files such as

  1. https://online2pdf.com/remove-pdf-password
  2. https://convertio.co/th/unlock-pdf/
  3. http://www.pdfunlock.com/
  4. http://www.ilovepdf.com/unlock_pdf
  5. https://smallpdf.com/unlock-pdf

etc.

Simple steps to unlock files

  1. Select a website that provides services to unlock files. Generally, this type of websites gives clear instructions to unlock files.
  2. Follow the instructions. For example, upload a file that you want to unlock.
  3. Then click “convert” or “unlock” a file.
  4. Please wait for a moment while the program is running. After the file is unlocked, you can download it and print it out.
มีเลขหมู่หนังสือแล้ว ต้องไปหาสิ่งพิมพ์ยังไง?
มีวิธีตรวจสอบ 2 วิธีดังนี้

1.ตรวจสอบจากฐานข้อมูลห้องสมุดแล้ว https://library.car.chula.ac.th ดูที่ Location ให้ตรวจสอบรหัสสถานที่ห้องสมุดในจุฬาฯ และ ตรวจสอบเลขหมู่

ตัวอย่างหน้าจอการค้นหาตัวเล่ม

example

จากตัวอย่าง พบว่ามีที่ Central Library ที่หอสมุดกลาง เลขหมู่ 895.913 ค519จ 2558 เป็นหมวด 800 อยู่ที่ชั้น 4 ออกจากลิฟต์เลี้ยวซ้าย

2.ตรวจสอบจาก Library Floor Plan หรือ click ที่ Map เพื่อปรากฎตำแหน่งของตู้หนังสือ

map of bookshelves

ค้นหาบทความวารสารพร้อมให้เอกสารฉบับเต็มฟรี (Open Access Journal)

แหล่งค้นหาบทความวารสารวิชาการครอบคลุมทุกสาขา ทั่วโลก

วารสารภายในประเทศไทย

วารสารมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างประเทศ

วารสารจากสำนักพิมพ์ชั้นนำทั่วโลก

ค้นหาวิทยานิพนธ์ทั่วโลก พร้อมไฟล์เอกสารฉบับเต็มฟรี (Open Access of Theses & Dissertations Databases)
แนะนำฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ทั่วโลก
ต้องการหาวารสารที่ตีพิมพ์ในจุฬาฯ และเป็น Open Access Journals ด้วยค่ะ

รายชื่อวารสารที่ตีพิมพ์ในจุฬาฯ ของคณะ/วิทยาลัย/สถาบัน (Open Access Journals of Chulalongkorn University) มีดังนี้

ขอดูคลิปแนะนำการค้นหาข้อมูล เช่น หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ สิทธิบัตร ...

ประชาคมจุฬาฯ ดูคลิปได้ ที่นี่



คำถามทั่วไป (General)

หากต้องการบริจาคหนังสือให้ห้องสมุดต้องทำอย่างไร

โปรดอ่านรายละเอียด ที่นี่

หากต้องการแนะนำหนังสือเข้าห้องสมุด เพื่อให้ห้องสมุดจัดซื้อจัดหาต้องทำอย่างไร

โปรดกรอกข้อมูลแนะนำหนังสือเข้าห้องสมุด ที่นี่