เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2521 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยบริการ ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน คือ หอสมุดกลาง ศูนย์เอกสารประเทศไทย และศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง
เริ่มนำโปรแกรม CDS/ISIS มาใช้ในการรวบรวมรายชื่อวารสาร
เริ่มเปิดให้บริการ ณ อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2525
มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ห้องสมุดทุกเห่งในมหาวิทยาลัยเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อกันและกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้นิสิต อาจารย์ นักวิชาการสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุดทุกแห่งได้อย่างรวดเร็วโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
สถาบันวิทยบริการได้รับมอบหมายภารกิจจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ศึกษาและดำเนินการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยได้ติดตั้งและให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็ว 9.6 Kbps แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2535 ส่งผลให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานแรกในประเทศไทยที่เชื่อมเข้าสู่ทางด่วนสารสนเทศ Internet ตลอด 24 ชั่วโมง
เพื่อเป็นคลังจัดเก็บและให้บริการสารสนเทศที่เป็นภูมิปัญญาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ ฯลฯ โดยใช้ผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป DSpace
ซึ่งมีพันธกิจหลักในการรวบรวมข้อมูลประวัติและความเชี่ยวชาญและผลงานของบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีภาระหน้าที่ในการสนับสนุนด้านทรัพยากรสารสนเทศและทรัพยากรวิชาการอื่นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย และการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ด้วยโปรแกรม Encore เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นระบบการสืบค้นแบบพิมพ์คำค้นแล้วคลิกครั้งเดียว สามารถสืบค้นจากฐานข้อมูลหลายๆ ฐานพร้อมกัน ประกอบด้วย ฐานข้อมูลห้องสมุด (Library Catalog), ฐานข้อมูลที่บอกรับ (CU Reference Databases) และฐานข้อมูลคลังปัญญาจุฬาฯ (CUIR)
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์2553 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาเปลี่ยนชื่อ สถาบันวิทยบริการ เป็นศูนย์วิทยทรัพยากร
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาศรมวงษาธิราชสนิท ณ สถาบันวิทยบริการ ชั้น 6
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 มีพระราชกฤษฎีกาปรับปรุงโครงสร้างส่วนงานของมหาวิทยาลัยเพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และเพื่อความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย
วันที่ 19 มิถุนายน เวลา 22.00 น. ถึง วันที่ 20 มิถุนายน เวลา 04.00 น. ห้องสมุดทำการย้ายข้อมูลจากระบบ Millennium เข้าสู่ระบบ Sierra
โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป ระหว่างเวลา 9:00-18:00 น
สำนักงานวิทยทรัพยากร ได้รับการสนับสนุนจากสำนักบริหารกิจการนิสิตให้เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ในระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2559
เป็นห้องสมุดสาขาแรกของสำนักงานวิทยทรัพยากร เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560
28 มีนาคม 2560 พิธีเปิดตัวคลังข้อมูลดิจิทัลและนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ และการเสวนาวิชาการ “จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย” ครั้งที่ 1 เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยเปิดให้ทุกคนทั้งประชาคมจุฬาฯ และบุคคลภายนอกสามารถดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการฉบับเต็ม (Fulltext) และอื่นๆ ในคลังปัญญาจุฬาฯ ได้ โดยไม่ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิก หรือ Log in อีกต่อไปเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป
เปิดให้บริการ “ปันอ่าน” มุมหนังสืออ่านฟรี พร้อมพื้นที่นั่งอ่าน และเปิดให้บริการ “บอร์ดเกมและหมากกระดาน” สำหรับนิสิต บุคลากรจุฬาฯ และนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เปิดพื้นที่สำหรับนิสิตและบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ใช้ในการเรียนรู้ และฝึกฝนทักษะการเล่น eSports รวมไปถึงใช้ในกิจกรรมและการแข่งขันต่างๆ ของชมรม Chula Esports
นำมาใช้ในการให้บริการตอบคำถาม บริการต้อนรับนำชมของห้องสมุด
สำนักงานวิทยทรัพยากรได้ประกาศใช้ระบบบริหารงานคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001 : 2015
จัดแสดง ณ ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต้นแบบห้องสมุด Unmanned Library แห่งแรกของประเทศไทย
สำนักงานวิทยทรัพยากรได้ประกาศใช้มาตรฐานสากล ISO 14001 : 2015 ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2564