Page 7 - 05
P. 7

“พ.ร.บ.คู่ชีวิต - สมรสเท่าเทียม” ในไทย

                                    ต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง ก่อนบังคับใช้เป็นกฎหมาย

                                                                                        ปณิธี เปรมสัตย์ธรรม


                       กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) โดยเฉพาะทรานส์เจนเดอร์และคนที่แสดงออก
               ทางเพศไม่ตรงกับบรรทัดฐานของสังคม มักเสี่ยงต่อการกีดกันทางเศรษฐกิจและสังคม การต่อสู้เพื่อกฎหมาย

               โดยไม่ค านึงถึงรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศจะช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้เข้าถึงสิทธิทางสุขภาพ การศึกษา
               ที่อยู่อาศัย และการจ้างงานมากขึ้น

                       เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบรับร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
               การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ 4 ฉบับ เพื่อให้คู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถแต่งงานกันได้

               โดยชอบด้วยกฎหมาย และได้รับสิทธิต่าง ๆ เหมือนคู่แต่งงาน แต่การพิจารณากฎหมายนี้ยังไม่จบ ร่าง “พ.ร.บ.
               คู่ชีวิต” และ ร่าง “พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ต้องผ่านอย่างน้อยอีก 4 ขั้นตอน ก่อนประกาศบังคับใช้เป็น
               กฎหมายในประเทศไทย (ข้อมูลจากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)) ดังนี้


               ขั นตอนที่ 1 การพิจารณาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
               หลังจากผ่านวาระแรกที่ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา (กมธ.วิสามัญฯ) ท าการแปรญัตติร่างกฎหมายหรือ
               ปรับแก้ร่างกฎหมายเป็นที่เรียบร้อย จะเข้าสู่วาระสองคือ สภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาลงมติให้ความ

               เห็นชอบร่างกฎหมายแบบรายมาตรา ว่าเห็นชอบด้วยกับการปรับแก้ของ กมธ.วิสามัญฯ หรือไม่ หรือ ให้คงไว้
               ตามร่างเดิม หรือ จะปรับเปลี่ยนใหม่ตามที่มีผู้อื่นเสนอแก้ และเมื่อลงมติให้ความเห็นชอบรายมาตราเป็นที่
               เรียบร้อย จะเข้าสู่วาระสามคือ สภาผู้แทนราษฎรจะให้ความเห็นชอบกับร่างกฎหมายทั้งฉบับหรือไม่


               ขั นตอนที่ 2 การพิจารณาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
               หากสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังวุฒิสภา เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภา
               พิจารณา โดยพิจารณาตามล าดับ แบ่งเป็นสามวาระ


               ขั นตอนที่ 3 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
               หากสมาชิกวุฒิสภาให้ความเห็นชอบโดยไม่มีการแก้ไข ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ สมาชิกวุฒิสภา ยื่น
               ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่


               ขั นตอนที่ 4 ทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
               หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างกฎหมายดังกล่าวแล้วไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีน าขึ้นทูลเกล้าฯ
               เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย


               ขั นตอนที่ 5 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมาย
               นับเป็นก้าวเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่ของหนทางการผลักดันให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศสมรสกันในประเทศไทย
               เพราะทุกคนควรได้รู้สึกภูมิใจในตัวตนและคนที่รัก และมีสิทธิที่จะแสดงออกอย่างเสรี
   2   3   4   5   6   7   8