Page 5 - 05
P. 5

PDPA

                                             พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

                                                                                          ธัญวรัตม์ สดคมข า


                       ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 จะเป็นวันเริ่มใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็น
               กฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย

               และน าไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามค ายินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต

                       พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data Protection Act (PDPA)  ่มีบทบาทส าคัญใน
               การคุ้มครองและให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้เกิดขึ้นกับบุคคลหรือนิติ
               บุคคลในการเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่

               จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ หากผู้ใดหรือองค์กรใดไม่ปฏิบัติตามนั้น จะมีโทษทั้งทางแพ่ง โทษทางอาญา
               และโทษทางปกครอง


                       ข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้การคุ้มครองของ PDPA มีดังนี้
                   •  ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล / เบอร์โทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว ที่อยู่ปัจจุบัน / เลขบัตร
                   ประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขใบอนุญาตขับขี่ / ข้อมูลทางการศึกษา / ข้อมูลทางการเงิน / วันเดือน
                   ปีเกิด และข้อมูลอื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น Username / password,  Cookies

                   IP address,  GPS Location เป็นต้น
                   •  ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ได้แก่ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ / ความคิดเห็นทางการเมือง /ความเชื่อ
                   ในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา / ประวัติอาชญากรรม / ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ เช่น โรคประจ าตัว

                   การฉีดวัคซีน ใบรับรองแพทย์ และข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ แบบจ าลองใบหน้า ข้อมูลม่านตา เป็น
                   ต้น

                       ในส่วนของบทลงโทษกรณีกระท าความผิด พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA นั้น แบ่งเป็น

               3 ประเภท คือ 1) บทลงโทษทางแพ่ง 2) บทลงโทษทางอาญา และ 3) บทลงโทษทางปกครอง
                   1.  บทลงโทษทางแพ่ง  เกิดจากการกระท าความผิดทางแพ่ง  คือ  มีการท าให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย  เช่น
                   เสียหายทางร่างกาย เสียหายทางชื่อเสียง เสียหายทางสิทธิของบุคคลนั้น ๆ เป็นต้น ผู้กระท าความผิดจึง
                   จะต้องชดใช้ค่าเสียหาย/ค่าสินไหม เป็นจ านวนเงิน

                   2.  บทลงโทษทางอาญา  เกิดจากมีการกระท าหรือมีความประพฤติที่รัฐมองว่าคุกคาม  หรือเป็นภัยต่อ
                   ทรัพย์สิน สุขภาพ ความปลอดภัยและศีลธรรมของประชาชนและส่วนรวม ซึ่งการลงโทษผู้กระท าความผิด
                   ประเภทนี้ โดยโทษทางอาญามี 5 อย่างคือ ประหารชีวิต จ าคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
                   3.  โทษทางปกครอง      เกิดจากการกระท าความผิดที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย   หรือไม่ปฏิบัติตาม

                   บทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องกระท า  แต่ยังไม่ร้ายแรงถึงระดับความผิดทางอาญาที่ส่งผลกระทบต่อ
                   ความสงบเรียบร้อยของสังคมและส่วนรวม
   1   2   3   4   5   6   7   8