Page 3 - 2024_04-07_News Letter
P. 3
1
เมษาหน้าโง่ วันแห่งการหยอกเล่น ๆ
ก้องเวหา อินทรนุช
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงพลาดท่าให้กับค าลวงค าหยอกที่ไม่จริงจังในวันที่ 1 เมษาฯ หรือ “วันเมษาหน้าโง่
(April fool’s day)” ไม่ว่าจะจากทางโซเชียล จากเพื่อนสนิทมิตรสหาย หรืออาจจะคนรักและคนในครอบครัว
เพื่อสร้างสีสันความสนุก แต่อาจจะยังไม่ทราบว่าวันนี้มีที่มาอย่างไร วันนี้ทาง CURef จะพาท่องกาลเวลาย้อนกลับ
ไปสืบเสาะหาจุดเริ่มต้นของการหยอกเล่นนี้กัน
ด้วยข้อมูลจากนักประวัติศาสตร์ วันเมษาหน้าโง่อาจจะถือก าเนิดขึ้นในช่วงยุคเรเนสซองส์ระหว่างศตวรรษ
ที่ 16 – 18 แต่ความแน่ชัดของที่มายังคงเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้ ทฤษฎีหนึ่งที่ถูกเล่าว่าเป็นจุดเริ่มต้นคือ
กฤษฎีการูสิยองที่เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษาฯ ตามปฏิทินจูเลียนเป็นวันที่ 1 มกราฯ ตามปฏิทิน
เกรกอเรียนจึงส่งผลให้คนในสมัยนั้นที่ยังเฉลิมฉลองปีใหม่เก่าอยู่ถูกเรียกว่า “พวกเมษาหน้าโง่ (April fools)”
ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งมาจากโรมัน คือ การสรรเสริญ “ดีมิเทอร์” เทพีแห่งการเกษตรที่จัดช่วงต้นเมษาฯ
ซึ่งลูกสาวของเธอถูกฮาเดสลักพาตัวไป ซึ่งตอนที่ลูกสาวของเธอก าลังถูกลักพาตัว เธอจึงพยายามตามเสียงของลูก
เธอไปเพื่อช่วยแต่กลับพบว่าเสียงนั้นคือเสียงสะท้อนที่ประวิงเวลาเพียงเท่านั้น จากเหตุการณ์นี้ การหลอกให้ใคร
ไปที่ใดโดยเปล่าประโยชน์จึงเป็นการหลอกเล่นที่ชื่นชอบใช้กันในวันเมษาหน้าโง่
จากข้างต้น เชื่อว่าแต่ละคนต่างมีความวิจิตรพิเรนทร์ในการสร้างสรรค์กลเม็ดหยอกเล่นเพื่อใช้ในวันนี้
จากทั่วโลกมีการหยอกเล่นที่พบบ่อยอยู่ เช่น การแปะโน้ตที่หลัง โกหกว่าลาออก โพสต์รูปตั้งครรภ์ โพสต์ว่าติด
โควิด อย่างไรก็ตาม การหยอกเล่นจนเกินเหตุก็ใช่ว่าจะดีเสมอได้เนื่องจากการหยอกเล่นอาจน าไปสู่ความเครียด
ความกังวล ซึมเศร้า และความคิดในการฆ่าตัวตายเหมือนกับการบูลลี่ (Bully) อีกทั้งอาจจะผิดกฎหมายด้วย
หากเล่นกันจนเกินเหตุ ดังนั้นในวันที่ 1 เมษาฯ นี้หวังว่าทุกคนจะหยอกเล่นกันพอหอมปากหอมคอ และรู้ลิมิต
ความเหมาะสมกับบุคคล สถานที่ และสถานการณ์
#RSSHottopic #CURef #aprilfools #teasing #เมษาหน้าโง่
นอกจากนี้ หากใครสนใจเกี่ยวกับประเด็นด้าน “การหยอกเล่น (teasing)” ก็สามารถคลิกลิงก์ด้านล่าง
เพื่ออ่านเนื้อหาได้เลย
1. Role of peer support on the cycle of weight teasing, psychological distress and
disordered eating in Taiwanese adolescents: A moderated mediation analysis
https://www-sciencedirect-com.chula.idm.oclc.org/science/article/pii/S1471015323001150