Page 27 - 2024_04-07_News Letter
P. 27

25


                                 ประเภทหนังสือผ่านการอ่านของคนแต่ละ Generation



                                                                                             ก้องเวหา อินทรนุช


                        หนังสือที่จารจดไว้ด้วยถ้อยอารมณ์อันหลากหลาย ทุกตัวอักษรต่างซึมซาบผ่านนัยน์ตาที่จับจ้อง
               อย่างไม่วางตา วันนี ทาง CURef พาทุกคนไปดูพฤติกรรมและประเภทหนังสือที่คนแต่ละ ‘Gen’ สนใจ
               รวมถึงอิทธิพลที่ส่งผลต่อการอ่านที่เปลี่ยนไปของคนในแต่ละช่วงวัย
                        เชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “คนไทยอ่านหนังสือไม่เกิน 7 บรรทัด” ซึ่งมักถูกหยิบยกขึ นมา

               เพื่อชี ให้เห็นถึงปัญหาการอ่านของคนไทย แต่หากมองในความเป็นจริงกลับต่างออกไปเนื่องจากผลการเก็บข้อมูล
               จากส่านักงานสถิติแห่งชาติปี พ.ศ. 2548 - 2561 แสดงให้เห็นถึงการอ่านที่มีอัตราเพิ่มขึ นในทุก ๆ ปี ซึ่งกลุ่มที่
               อ่านหนังสือมากที่สุดคือเยาวชนวัยรุ่น ดังนั นการกล่าวว่าคนไทยอ่านหนังสือไม่เกิน 7 บรรทัดจึงเป็นการกล่าว

               เกินจริงอย่างเห็นได้ชัด
                        เมื่อมองผ่านประเภทการอ่านของคนใน 5 กลุ่ม ‘Gen’ (Generation) พบว่า คนตั งแต่อายุ 76 ขึ น
               หรือ The Silent Generation มีแนวโน้มที่จะชอบอ่านหนังสือประเภทสืบสวนสอบสวน ขณะที่ Baby Boomer
               (อายุ 58 – 75 ปี) ชอบหนังสือประเภทเขย่าขวัญ (Thriller) เสียมากกว่า ในส่วน 3 กลุ่ม Gen ที่เหลือคือ
               กลุ่ม Gen X (อายุ 41 – 55 ปี) กลุ่ม Gen Y (อายุ 26 – 40 ปี) และ Gen Z (อายุ 5 – 25 ปี) พบว่าคน Gen X

               อ่านหนังสือได้ทุกประเภทโดยไม่จ่ากัดความชอบต่อประเภทใดเป็นพิเศษ ต่างจาก Gen Y ที่ชอบวรรณกรรมทั่วไป
               และ Gen Z ที่ชอบอ่านวรรณกรรมเยาวชนและแฟนตาซี
                        จากประเภทการอ่านของคนแต่ละกลุ่ม Gen พบว่า อิทธิพลที่ส่งผลต่อการอ่านสามารถแบ่งออกได้เป็น

               สองด้านหลัก คือ อิทธิพลทางขนบวัฒนธรรม และอิทธิพลทางเทคโนโลยี โดยในกลุ่ม The Silent Generation
               และ Baby Boomer จะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมเป็นหลักซึ่งเน้นเรื่องทางศีลธรรมและการเคลื่อนไหวทางสังคม
               เป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นช่วงระหว่างสงครามโลกครั งที่ 2 จนถึงยุคสงครามเย็น ท่าให้ความสนใจในการอ่าน
               มักเกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีประเด็นทางศีลธรรมและประวัติศาสตร์

                        ในทางกลับกัน กลุ่ม Gen X, Gen Y และ Gen Z ซึ่งเติบโตขึ นมาในยุคที่เทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาท
               ส่าคัญในชีวิตประจ่าวัน ความชื่นชอบในการอ่านจึงมีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปตามช่องทางสื่อ
               ที่พวกเขาได้รับ และด้วยเทคโนโลยีที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างเสรีและรวดเร็ว ส่งผลให้ความสนใจ
               มีความลื่นไหลและหลากหลายตามแนวโน้มของสื่อที่เปลี่ยนไป ด้วยทั งหมดจึงสามารถพูดได้ว่า ผลของการ

               ผสมผสานระหว่างขนบวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสะท้อนพฤติกรรมการอ่านในแต่ละ Generation ได้เป็นอย่างดี
               #RSSHottopic #CURef #Genre #Reading #Generation

                        นอกจากนี้ หากใครสนใจมุมมองอื่นที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ “การอ่าน (reading)” สามารถคลิกลิงก์

               ด้านล่างเพื่ออ่านบทความที่เราแนบมาให้ได้เลย
               1. Examining factors and mechanisms of reading comprehension and reading fluency:
               Longitudinal evidence for Chinese children from grade 1 to grade 6

               https://www-sciencedirect-com.chula.idm.oclc.org/science/article/pii/S1041608024000608
   22   23   24   25   26   27   28