Page 25 - 2024_04-07_News Letter
P. 25

23


                                             ผลกระทบของแสงต่อชีวิตประจ้าวัน



                                                                                             ก้องเวหา อินทรนุช
                        “แสง” แม้จะเปรียบเสมือนดวงประทีปโชติช่วงส่องน่าทางให้แก่มนุษย์มานับร้อยนับพันปี แต่รู้หรือไม่ว่า

                   ความล่าพองใฝ่เอื อมของอิคารัสที่คิดอาจหยิบผลรวีสุกสกาวจากฟากฟ้าโดยไม่ประมาณตน ผลสุดท้ายจึง
                   ร่วงโรยดิ่งดับสู่ห้วงธาราอย่างน่าอนาถใจ วันนี ทาง CURef จะพาทุกคนไปรู้จักกับผลกระทบของแสงที่มีผลต่อ
                   มนุษย์และเหตุการณ์ “Pokémon Shock” ที่ท่าให้ผู้ชมถูกหามส่งโรงพยาบาลกว่า 700 คน
                        เมื่อกล่าวถึง “แสง” โดยพื นฐานคือรูปแบบหนึ่งของพลังงานที่เคลื่อนที่ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

                   ซึ่งสามารถรับรู้ได้ด้วยตาเปล่า รวมถึงมีบทบาทส่าคัญในชีวิตประจ่าวันของพวกเราทุกคน ซึ่งในเชิงบวกอันดับ
                   แรกคือแสงมีผลต่อนาฬิกาชีวภาพ ท่าให้กระฉับกระเฉงในเวลากลางวันและรู้สึกง่วงหนาวหาวนอน
                   ในเวลากลางคืน ล่าดับต่อมาคือการรับแสงอ่อน ๆ ยามเช้าจะช่วยกระตุ้นการผลิตวิตามินดีใต้ผิวหนัง
                   และท้ายที่สุดเมื่อแสงมีความเหมาะสมในสถานที่ท่างานจะช่วยลดการเหนื่อยล้า รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพ

                   ในการท่างานและการมองเห็นได้ด้วย
                        ในอีกด้านหนึ่งแสงก็ส่งผลกระทบเชิงลบได้เช่นกัน กล่าวคือ การได้รับแสงความเข้มสูงหรือแสงสีฟ้า
                   จะส่งผลต่อความเมื่อยล้าและการนอนหลับ อีกทั งแสงแฟลชที่มีความถี่สูงอาจมีผลต่อการกระตุ้นอาการ
                   ไมเกรน รวมถึงอาการชักในผู้ที่มีภาวะไวต่อแสง (photosensitive epilepsy) นอกจากนี  การได้รับ

                   แสงธรรมชาติหรือการอยู่ในแวดล้อมที่มีแสงไม่เพียงพอก็เป็นอีกหนึ่งต้นตอของภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล
                   ได้เช่นกัน
                        จากผลกระทบของแสงในเชิงบวกและเชิงลบ มีเหตุการณ์สุดแปลกที่เกิดจากการรับชมอนิเมะขึ นชื่อ
                   ของประเทศญี่ปุ่น “Pokémon” ซึ่งเกิดในวันที่ 16 ธันวาคม 1997 ตอนที่ 38 ในตอนดังกล่าวมีฉากที่พิคาชู

                   ใช้ธันเดอร์โบลต์ปรากฏให้เห็นแสงแฟลชน ่าเงินแดงสลับกันไปมา ผลจากแสงแฟลชดังกล่าวท่าให้ผู้ชม
                   เกิดอาการชักเกร็ง ปวดศีรษะและเวียนหัว เมื่อวิเคราะห์ต้นเหตุของอาการดังกล่าวพบว่า แสงแฟลชที่มี
                   คลื่นความถี่สูง (ประมาณ 12-30 Hz) และสีสันที่เข้มข้นมีผลให้เกิดอาการเหล่านี  ดังนั น เหตุการณ์นี จึงเป็น

                   กรณีศึกษาที่ส่าคัญและสร้างความตระหนักในการออกแบบสื่อเพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเหล่านี อีกต่อไป
                   #RSSHottopic #CURef #Photosensitive #Seizure #Pokémon #Flash

                   นอกจากนี้ หากใครสนใจมุมมองอื่นที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ “ภาวะไวต่อแสง (Photosensitivity)” สามารถ
                   คลิกลิงก์ด้านล่างเพื่ออ่านบทความที่เราแนบมาให้ได้เลย

                   1.Electroclinical Features and Long-Term Photosensitivity Outcome in Patients With
                   Photoparoxysmal Response With Epilepsy
                   https://www-sciencedirect-com.chula.idm.oclc.org/science/article/pii/S0887899423002230

                   2. Photosensitivity and self-induction in patients aged 50 and older
                   https://onlinelibrary-wiley-com.chula.idm.oclc.org/doi/full/10.1002/epd2.20209
                   3.Facial clues to the photosensitive trichothiodystrophy phenotype in childhood
                   https://www-nature-com.chula.idm.oclc.org/articles/s10038-023-01134-4
   20   21   22   23   24   25   26   27   28