Page 28 - Cover Page Newsletter
P. 28

26


                                              International Literacy day


                                                                                              ทัชชา พรรณรักษ์


                       ตามที่ UNESCO ได้ประกาศให้วันที่ 8 กันยายน ของทุกปี เป็น International Literacy Day (วันการ

               เรียนรู้หนังสือสากล) ก่อตั้งขึ้นโดยองค์การ UNESCO (United Nations Educational, Scientific and Cultural
               Organization) ตั้งแต่ปี พ.ศ 2510 เพื่อให้ตระหนักรู้ถึงความส าคัญของการรู้หนังสือ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทักษะการ

               สื่อสารในชีวิตประจ าวัน การอ่านออก เขียนได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี และเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของ

               ทุกคน


                       โดยปีนี้ UNESCO ได้เลือกหัวข้อหลักของ International Literacy Day เป็น ‘promoting literacy for

               a world in transition: building the foundation for sustainable and peaceful societies’ หรือสนับสนุน
               ให้มีการรู้หนังสือในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ภายใต้การสร้างรากฐานสังคมที่มีความมั่นคงและความสงบสุข ซึ่งถือ

               เป็นโอกาสในการเข้าร่วมเป้าหมายของ SDG (Sustainable Development Goals) ข้อที่ 4 Quality Education

               คือ การสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสใน
               การเรียนรู้ตลอดชีวิต



               การศึกษาในประเทศไทย
                       จากการรวบรวมสถิติของนักเรียนจากสถานศึกษาในสังกัดส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

               และส านักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (เฉพาะในส่วนที่บริหารจัดการโดยภาครัฐ) พบว่า ในช่วงปีการศึกษา

               2553 –2564 มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เข้ารับการศึกษาในโรงเรียน จ านวน 583,255 คน แต่มีนักเรียนจบ
               การศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ ปวช. 3 เหลือเพียง 464, 394 คน เท่ากับมีเด็กที่ยุติการศึกษาไปถึงร้อย

               ละ 20.4 โดยพบว่าระหว่างระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไปสู่ ปีที่ 4 หรือ ปวช.1 เป็นช่วงเวลาที่มีเด็กยุติการศึกษา

               มากที่สุด ซึ่งคาดว่าเกิดสาเหตุหลัก ๆ คือ สถานะทางเศรษฐกิจของแต่ละครัวครัวเรือน


                       หากจะพูดถึงการรู้หนังสือในปัจจุบันนั้น ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ท าให้ขอบเขตของการรู้หนังสือ

               ไม่จ าเป็นจะต้องท าโดยการหยิบหนังสือมาอ่าน หรือต้องไปศึกษาที่โรงเรียนอีกต่อไป เพราะมีสื่อการเรียนการสอน/
               ข้อมูลสารสนเทศที่สามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านเทคโนโลยีที่รองรับกับอุปกรณ์หลากหลาย และด้วย

               ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี ท าให้การรู้หนังสือสามารถเข้าถึงง่าย ท าได้ทุกที่

               ทุกเวลา และทุกช่วงวัย
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33