Page 5 - 02
P. 5
แนวคิดและอิทธิพลของ Soft Power
ธัญวรัตม์ สดคมข า
จากกระแสของ “LALISA” เพลงเดี่ยวแรก LISA - BLACKPINK ที่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้คนทั่วโลก
และได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม มีศักยภาพในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยในเวทีโลกอย่างมาก จึงท า
ให้ประเทศไทยตื่นตัวที่จะส่งเสริมและด าเนินนโยบาย Soft power ของไทยอีกครั้ง
Soft power หรือ อ านาจละมุนหรืออ านาจแบบอ่อน เป็นอ านาจในการชักจูงหรือโน้มน้าวประเทศ
อื่น ๆให้ปฏิบัติตามความประสงค์ โดยการสร้างเสน่ห์ ภาพลักษณ์ ความชื่นชม และความสมัครใจพร้อมที่จะ
ร่วมมือกันต่อไป ด้วยเครื่องมือที่ไม่ใช่อาวุธ เช่น วัฒนธรรม กีฬา การศึกษา ธุรกิจ หรือ นโยบายต่างประเทศ
เป็นต้น โดยอ านาจแบบอ่อน (Soft power) นี้จะได้รับการยอมรับมากกว่าอ านาจแบบแข็ง (Hard power)
หรืออ านาจ เชิงบังคับ เช่น อ านาจทางการทหาร เป็นต้น
จากหลักของ Joseph Nye แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่าองค์ประกอบ Soft power ประกอบ
ไปด้วยทรัพยากรส าคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
• วัฒนธรรม (Culture)
• ค่านิยม (Values)
• นโยบายต่างประเทศ (Foreign policy)
ยกตัวอย่าง Soft power ของประเทศต่างๆ ที่มีผลต่อคนทั่วโลก
• ประเทศจีน : สถานที่ท่องเที่ยว ภาษาจีนที่ถ่ายทอดผ่านซีรีส์ ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงการให้
ทุนการศึกษา การให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น วัคซีน หน้ากากอนามัย
ในช่วงการระบาด COVID-19
• ประเทศญี่ปุ่น : วัฒนธรรม J-Pop, “อนิเมะ” หรือภาพยนตร์การ์ตูน เช่น ดราก้อนบอล โดราเอมอน
เป็นต้น
• ประเทศเกาหลีใต้ : K-Entertainment ประกอบด้วย K-Pop, K-Series, K-Movie, K-Variety Show,
K-Comic, K-Animation รวมไปถึง K-Beauty ผลิตภัณฑ์บ ารุงผิว และอาหารเกาหลี K-Food มีทั้งอาหาร
ผลไม้ และเครื่องดื่ม เป็นต้น
ในมุมของประเทศไทยนั้น ส านักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ได้มุ่งเน้นการ
ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบส าคัญ คือ Creative People, Creative
Business และ Creative City ให้เป็นหน่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผลักดันอุตสาหกรรมไทยใน 15
สาขา ได้แก่
1) งานฝีมือและหัตถกรรม 5) ภาพยนตร์
2) ดนตรี 6) การแพร่ภาพและกระจายเสียง
3) ศิลปะการแสดง 7) การพิมพ์
4) ทัศนศิลป์ 8) ซอฟต์แวร์