Page 17 - 2024_04-07_News Letter
P. 17
15
แสงเหนือ Aurora Borealis
กวินธร ชุมทอง
เมื่อเร็วๆนี เกิดปรากฏการณ์พายุสุริยะ (Solar Storm)ระดับรุนแรงขึ น ส่งผลให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน
หลายประเทศ ทั งในยุโรปและอเมริกาได้เห็นแสงเหนือ ซึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Aurora Borealis หรือ Northern
Lights แสงเหนือเป็นปรากฏการณ์ที่แนวสีที่มีความสว่างต่างๆ เกิดขึ นบนท้องฟ้ายามค่่า ส่วนใหญ่มักเกิดขึ นใน
แถบประเทศที่อยู่ในละติจูดเขตสูง บริเวณขั วโลกเหนือและใต้นั นมีอุณหภูมิต่่าและอากาศหนาวเย็น หากเกิด
บริเวณขั วโลกเหนือ จะเรียกว่าแสงเหนือ หากเกิดบริเวณขั วโลกใต้ เรียกกันว่าแสงใต้ (Aurora Australis
หรือ Southern Lights)
นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า แสงเหนือเกิดจากอนุภาคอิเล็กตรอน โปรตอน หรือไอออนอื่นๆ ที่มีพลังงาน
สูงถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ในขณะที่ก่าลังโคจร อนุภาคนี ถูกลมสุริยะพัดมาสู่ชั นบรรยากาศโลก เมื่ออนุภาค
เหล่านี เคลื่อนผ่านชั นบรรยากาศ จะรวมตัวกับโมเลกุลของก๊าซในชั นบรรยากาศ และปล่อยพลังงานในรูปแสง
ออกมาที่เรามองเห็นเป็นสีต่างๆ สีที่เราเห็นนั นแตกต่างกันเนื่องจากระดับความสูงที่อนุภาคไปรวมตัวกับโมเลกุล
ของก๊าซในชั นบรรยากาศ รวมถึงชนิดของก๊าซอีกด้วย เช่นออกซิเจนให้แสงสีเขียวหรือแดง ฮีเลียมให้แสงสีฟ้าหรือ
ชมพู เป็นต้น ดาวดวงอื่นๆที่มีชั นบรรยากาศและสนามแม่เหล็กก็มีปรากฏการณ์นี เช่นเดียวกัน เช่น ดาวพฤหัส
ดาวเสาร์ ยูเรนัสและเนปจูน การศึกษาเกี่ยวกับแสงเหนือเกิดขึ นตั งแต่สมัยกรีกโรมันโบราณ โดย Aurora นั นเป็น
ชื่อที่ตั งตามเทพีรุ่งสางแห่งโรมัน (Goddess of the Dawn) และ Boreas มาจากเทพเจ้ากรีกแห่งสายลมเหนือ
(God of the North Wind) ส่วนชาวฟินแลนด์เรียกแสงเหนือว่า Revontulet ซึ่งแปลว่า Fox Fire
สาเหตุที่หลายประเทศในยุโรป รวมถึงอเมริกาสามารถเห็นแสงเหนือได้นั น ถือเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ
เนื่องจากพายุสุริยะที่เกิดขึ นมีความรุนแรงอย่างมาก มีรายงานว่าอเมริกาสามารถมองเห็นแสงเหนือได้เกือบทั ง
ประเทศ และกินอาณาบริเวณมายังเส้นศูนย์สูตรบริเวณประเทศเปอร์โตริโก อย่างไรก็ตาม พายุสุริยะที่เกิดขึ น
ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเพียงผลกระทบต่อสนามแม่เหล็กโลกที่แปรปรวนจาดอิทธิพลของพายุ
สุริยะ ซึ่งแน่นอนว่าอาจท่าให้ดาวเทียมและโครงข่ายส่งก่าลังไฟฟ้าเกิดความเสียหายได้ อนึ่งการที่สนามแม่เหล็ก
โลกแปรปรวนนี อาจส่งผลให้สัตว์บางชนิดหลงทางได้ในช่วงที่มีการอพยพย้ายถิ่น เพราะสนามแม่เหล็กโลก
เปรียบเสมือนเข็มทิศน่าทางนั่นเอง
#CURef #AuroraBorealis #Northernlights #Phenomenon
วันนี้ CURef มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแสงเหนือมาให้อ่านกันดังนี้
1. Aurora Borealis: Choreographies of darkness and light
https://www-sciencedirect-
com.chula.idm.oclc.org/science/article/pii/S0160738317300257?via%3Dihub
2. Aurora borealis lags during the Middle Ages
https://www-sciencedirect-
com.chula.idm.oclc.org/science/article/pii/002191699290065S?via%3Dihub