Page 5 - Newsletter Dec 20202
P. 5

การกลายพันธ์ของ Covid-19


                                                                                         ฉันท์ชนิต เกตุน้อย




                       เมื่อช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีข่าวการค้นพบเชื้อไวรัสโควิด หรือ Covid-19 กลายพันธ์ในไทย

               จากผู้ป่วยชาวอังกฤษที่เดินทางมาประเทศไทยซึ่งได้มีการควบคุมเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้หลุดออกมาได้ จากการ
               ถอดรหัสสายพันธุ์ พบเป็นสายพันธุ์อังกฤษ หรือที่เรียกว่า สายพันธุ์อังกฤษที่กลายพันธุ์ B.1.1.7 ซึ่งเป็นสายพันธ์

               ที่ทั่วทั้งโลกเฝ้าจับตามอง

                       จากการถอดรหัสพันธุกรรมกลายพันธ์ของอังกฤษ VOC-202012/01” หรือ “B.1.1.7 ท่าให้ทราบว่ามี

               การกลายพันธุ์ที่ต่าแหน่งเกาะจับตัวรับของเซลล์มนุษย์ (N501Y) การกลายพันธุ์ที่จุดตัดของสไปรท์โปรตีน
               (P681H) ต่าแหน่งอื่นๆที่ขาดหายไป (spike 69-70 deletion) และต่าแหน่งอื่นๆ ท่าให้การแพร่ระบาดได้ง่าย
               และกระจายอย่างรวดเร็ว โดยได้มีการพบเชื้อไวรัส Covid-19 ชนิดนี้ในหลายประเทศ


                       นอกจากการกลายพันธ์ของเชื่อไวรัส Covid-19 ของกลายพันธ์อังกฤษ ยังพบการกลายพันธ์อื่นอีก 2
               สายพันธ์คือ Covid-19 พันธุ์กลายแอฟริกาใต้ 501.V2 โดยพบว่าสามารถจู่โจมคนหนุ่มสาวที่อาจมีสุขภาพไม่ดีได้

               ง่ายขึ้น และบางรายแสดงอาการเจ็บป่วยรุนแรงขึ้น โดยมีการมีการกลายพันธุ์ที่ต่าแหน่ง N501Y คล้ายกับตัว
               พันธุ์กลายอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีการกลายพันธุ์ที่ต่าแหน่ง E484K ซึ่งอยู่ที่ส่วนที่ใช้ในการยึดเกาะเซลล์มนุษย์

               เช่นกัน ท่าให้มนุษย์ติดเชื้อง่ายขึ้น และอีกสายพันธ์คือ Covid-19 พันธุ์กลายไนจีเรีย P681H ซึ่งยังไม่เป็นที่พูด
               ถึงมากนักและยังมีข้อมูลที่ค่อนข้างจ่ากัด แต่พบการกลายพันธุ์ที่ต่าแหน่ง 501 คล้ายตัวพันธุ์กลายแอริกาใต้ แต่
               มีศักยภาพในการกระจายเชื้อต่่ากว่า


                       ทั้งนี้จะต้องติดตามกันต่อไปว่าเชื้อไวรัส Covid-19 จะมีการกลายพันธ์ไปเรื่อยๆอีกหรือไม่ รวมทั้งวัคซีน
               ที่ผลิตโดยหลายประเทศจะสามารถหยุดเชื้อไวรัส Covid-19 ได้หรือไม่







               ที่มา :

               พบเชื้อโควิดกลายพันธุ์จากอังกฤษในไทยแล้ว แต่คุมอย่างดีไม่ให้แพร่กระจาย. (2564, 3 มกราคม). โพสต์ทูเดย์.


               PPTV Online. (2564) รู้จักโควิด-19 กลายพันธุ์ 3 ชนิดที่โลกก าลังจับตามอง. เข้าถึงได้จาก

                       http://pptv36.news/IeD
   1   2   3   4   5   6