สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


20 พฤศจิกายน 2566

เสียงจากแอนโทเนีย: เรื่องราวนักสิทธิสตรีหญิง วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล และช่องทางการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในไทย

 
 
 
เป็นที่น่าชื่นชมกับการตอบคำถามของแอนโทเนีย โพซิ้ว (Anntonia Porsild) Miss Universe Thailand 2023 ตัวแทนของไทยบนเวทีการประกวดรอบชิงชนะเลิศ Miss Universe 2023 ณ ประเทศเอลซัลวาดอร์ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมาและสามารถคว้าตำแหน่งรองอันดับ 1 ทำลายสถิติ 35 ปี ในการเข้าสู่รอบ 3 คนสุดท้ายได้สำเร็จ ซึ่งประเด็นที่ได้ตอบคำถามมีทั้งเรื่องให้กำลังใจก้าวเดินออกจากการกลั่นแกล้งกันทางออนไลน์ของนักเรียนในรอบ 5 คนสุดท้าย และการตอบคำถามรอบ 3 คนสุดท้ายเกี่ยวกับผู้หญิงในเชิงแรงบันดาลใจที่ว่า “ถ้าสามารถใช้ชีวิตเป็นผู้หญิงอีกคนได้เป็นเวลาหนึ่งปี เธอเลือกจะเป็นใครและทำไม” ซึ่งคำตอบของ แอนโทเนีย คือชื่อของ “มาลาลา ยูซาฟไซ” (Malala Yousafzai) และทำให้ผู้คนบนโลกออนไลน์ต่างสนใจและค้นหาข้อมูลของ มาลาลา นักเคลื่อนไหวด้านการศึกษาชาวปากีสถาน ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2014 ขณะมีอายุเพียง 17 ปี โดยเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลที่อายุน้อยที่สุดในโลก ซึ่งแหล่งข่าวระบุว่ามาลาลาเคยถูกลอบทำร้ายยิงที่ศีรษะจนอาการสาหัสจากกลุ่มตาลิบาน นับเป็นอีกเรื่องราวสะเทือนใจสะท้อนเรื่องสิทธิและบทบาทของผู้หญิงที่ถูกกดขี่มาอย่างยาวนาน (คำตอบของแอนโทเนียโดย ThaiPbs) และทำให้นึกไปถึงเรื่องที่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล (International Day for the Elimination of Violence against Women) เพื่อร่วมรณรงค์ยุติ ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ซึ่งการประกาศวันสำคัญเป็นวันนี้เนื่องจากมีเหตุการณ์สะเทือนใจที่จะต้องสร้างความตระหนักถึงการให้สิทธิสตรีจากการสังหารนักเคลื่อนไหวทางการเมืองสตรี ชาวโดมินิกัน 3 คน คือ Patria, Maria and Minerva Mirable ในคืนวันที่ 25 พฤศจิกายน 1961 เพราะเหตุผลทางการเมือง
 
 
เมื่อย้อนมาดูสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงในไทยก็พบว่าตั้งแต่ปี 2560 - 2565 ประเทศไทยมีผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถิติ ผู้ถูกกระทำ ด้วยความรุนแรงในครอบครัว (เมษายน 2565) เข้ารับบริการสูงถึง 15,056 ราย ซึ่งเป็นเพศหญิงมากที่สุด ขณะที่ในเดือนตุลาคมปี 2566 นั้นตัวเลขของกรมกิจการสตรีฯ ผู้ถูกกระทำ 83.5% ใน 2,312 ราย เป็นเพศหญิง เฉลี่ยวันละ 6 ราย TAIC จึงขอร่วมยืนหยัดเคียงข้างการสร้างความเท่าเทียมกันของสังคมและความตระหนักถึงการยุติความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิงและใช้พื้นที่สื่อสารของ TAIC  ให้ข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรงนั่นคือ ศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรีในภาวะวิกฤตจากความรุนแรง (One Stop Crisis Center: OSCC) ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ตามโรงพยาบาลเครือข่ายทั่วประเทศ มีเจ้าหน้าที่หลายวิชาชีพให้ความช่วยเหลือผู้ถูกกระทำได้ทันที ครบวงจร ทั้งทำหน้าที่รับแจ้งเหตุ คัดกรอง ตรวจวินิจฉัย รักษาพยาบาล ส่งเสริมป้องกันโรค ดูแลด้านความปลอดภัย ประเมินด้านจิตใจเพื่อช่วยเหลือในภาวะวิกฤติ ประสานและให้คำแนะนำด้านกฎหมาย ส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือด้านสังคมสงเคราะห์ ให้คำปรึกษา ฟื้นฟู เยียวยาสภาพจิตใจ ติดตามเยี่ยมบ้าน และประเมินผล (กรมสุขภาพจิต. กระทรวงสาธารณสุข; https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28353) นอกจากนี้ขอแนะนำศูนย์ช่วยเหลือสังคมตลอด 24 ชั่งโมง สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1300 ซึ่งเป็นบริการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อีกช่องทาง (https://1300thailand.m-society.go.th/)
 
แนะนำหนังสือที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นความรุนแรงและบทบาทของสตรีภายในฐานข้อมูล TAIC
1. การเข้าถึงความยุติธรรมในชั้นงานสอบสวน : กรณีความรุนแรงต่อผู้หญิง : รายงานการศึกษา | จัดทำโดย มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ร่วมกับ มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม
2. เลิกเหล้า ชุมชนสร้างสุข เรื่องจริงจากชุมชน "เลิกเหล้า" ลดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก
3. อ่านเรื่องกระบวนการสันติภาพโดยผู้หญิงอาเจะฮ์ -- แรงขับเคี่ยวเพื่อสร้างสันติภาพจากมุมมองของผู้หญิงปากีสถาน -- บทเรียนผู้หญิงกับกระบวนการสร้างสันติภาพ – ผู้หญิงกับสันติภาพในไทยไปต่ออย่างไร ในหนังสือผู้หญิงกับการสร้างสันติภาพในเอเชีย 
4. ความรุนแรงทางเพศ / รุ่งวิทย์ มาศงามเมือง, วรวุฒิ กำพลวิชิตพัฒน์ 
 
*อ้างอิงเพิ่มเติมจากลิ้งก์ดังนี้
1. 25 พฤศจิกายน วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ..หยุดการทำร้ายผู้หญิง
2.รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัว
3. สถิติความรุนแรงในครอบครัว โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ระหว่างเดือน. ตุลาคม 2564 - กันยายน 2565 
4. สถิติการให้บริการ 1300 สายด่วน 
5. OSCC  ! (One Stop Crisis Center) คืออะไร?  โดย สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ
6.รายงานการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ประจำปีงบประมาณ 2566
7. กสม. ชง พม. แก้ไขกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว (ข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
8. Photo Malala Fund,  Miss Universe 
 

views 4151