แนวทางในการจำแนกประเภทและระวางโทษผู้กระทำความผิดหลายคน
แนวทางในการจำแนกประเภทและระวางโทษผู้กระทำความผิดหลายคน

แนวทางในการจำแนกประเภทและระวางโทษผู้กระทำความผิดหลายคน

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความเหมาะสมของการจำแนกประเภทและระวางโทษผู้กระทำความผิดหลายคนในประเทศไทย รวมถึงการจำแนกประเภทและระวางโทษในระบบผู้ร่วมกระทำความผิดและระบบผู้กระทำความผิดหนึ่งเดียว เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและเสนอแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่เดิมให้เหมาะสมกับกฎหมายอาญาไทยต่อไป จากการศึกษาพบว่า ระบบผู้ร่วมกระทำความผิดมีการจำแนกประเภทและมีระวางโทษแตกต่างกันตามกฎหมายบัญญัติ โดยประมวลกฎหมายอาญาไทยมีการใช้ระบบดังกล่าวนี้ แต่พบประเด็นปัญหาการกล่าวถึงผู้ลงมือกระทำความผิดและผู้กระทำความผิดผ่านผู้อื่น ทำให้การปรับใช้ทฤษฎีนายเหนือการกระทำความผิดไม่สมบูรณ์ รวมถึงขาดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาถึงการร่วมกระทำความผิดของตัวการ ส่วนระวางโทษผู้ใช้และผู้สนับสนุนค่อนข้างจำกัดซึ่งแตกต่างจากระวางโทษของกฎหมายอาญาเยอรมันและญี่ปุ่น ระบบผู้กระทำความผิดหนึ่งเดียวนั้น มีการจำแนกประเภทผู้กระทำความผิดหลายคนโดยปริยาย โดยให้ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาถึงรูปแบบลักษณะของการกระทำความผิดและกำหนดโทษได้ตามความร้ายแรงของการกระทำ แม้ว่าระบบนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่อาจไม่เหมาะสมกับบริบทกฎหมายอาญาไทย ดังนั้น เห็นควรแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาและเพิ่มนิยามการร่วมกระทำความผิดของตัวการ ในมาตรา 83 ให้สอดคล้องทฤษฎีนายเหนือการกระทำความผิด ส่วนมาตรา 84 วรรคสาม ให้ยกเลิกการเพิ่มโทษกรณีผู้ถูกใช้มีสถานะพิเศษและแก้ไขระวางลงโทษของผู้ใช้ และมาตรา 86 ให้ระวางโทษของผู้สนับสนุนลดลงจากผู้กระทำความผิด เพื่อทำให้การกำหนดโทษได้สัดส่วนและสอดคล้องกับหลักการลงโทษให้เหมาะสมกับผู้กระทำความผิด (บทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64680

หนังสือแนะนำ “วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์” เดือน กันยายน 2564


LOCATIONCALL#STATUS
Law Library : Thesis (4th Floor)K/TH 800 ป554น 2562CHECK SHELVES

updated by Sumal Chausaraku

views 575