การนำหลักการริบทรัพย์สินตามมูลค่ามาใช้ในคดีฟอกเงิน
การนำหลักการริบทรัพย์สินตามมูลค่ามาใช้ในคดีฟอกเงิน

การนำหลักการริบทรัพย์สินตามมูลค่ามาใช้ในคดีฟอกเงิน

มาตรการดำเนินการกับทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ใช้หลักการริบทรัพย์สินแบบเจาะจงทรัพย์สิน คือ ทรัพย์ที่ถูกริบต้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในทางใดทางหนึ่ง และในขณะที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์ จะต้องมีตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งคำสั่งริบนั้นอยู่ ทำให้เกิดปัญหาในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซุกซ่อนทรัพย์สินอย่างแนบเนียน หรือใช้วิธีการนำทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดรวมเข้ากับทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการใช้ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดให้หมดไปอย่างสิ้นเปลือง ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถติดตามริบทรัพย์สินเหล่านั้นได้ ผู้กระทำความผิดยังคงได้รับประโยชน์จากการกระทำความผิดอยู่ การนำหลักการริบทรัพย์สินตามมูลค่ามาใช้ในกฎหมายฟอกเงิน จะทำให้ศาลมีอำนาจในการกำหนดมูลค่าของทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้มาจากการกระทำความผิด และสั่งริบชำระเป็นเงินแทนหรือสั่งให้ริบทรัพย์สินอื่นของผู้กระทำความผิดเทียบเท่ากับมูลค่านั้น ซึ่งจะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากการกระทำความผิด และเพื่อเป็นการลงโทษให้ผู้กระทำความผิดชดใช้ทรัพย์สินคืนให้แก่รัฐจากการที่ตนได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเหล่านั้น ทำให้การริบทรัพย์สินตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของประเทศไทยมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับนานาประเทศและมีความสอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศและมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (บทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64679

หนังสือแนะนำ “วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์” เดือน กันยายน 2564


LOCATIONCALL#STATUS
Law Library : Thesis (4th Floor)K/TH 825 ห153ก 2562DUE 05-03-24

updated by Sumal Chausaraku

views 1322