คำถาม–คำตอบ (FAQ)
ที่เกี่ยวข้องกับใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุด ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


หมวด 1 บททั่วไป

ครอบคลุมข้อมูลด้านต่าง ๆ ได้แก่ คำนิยาม ความรู้พื้นฐาน และความรู้/ทักษะสำหรับการปฏิบัติงาน (Reskill/Upskill)


  1. บุคลากรวิชาชีพห้องสมุด หมายถึงใครบ้าง
    คำตอบ: ผู้สำเร็จการศึกษาด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หรือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการปฎิบัติงานหลัก โดยมีลักษณะงานครอบคลุม งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า งานส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ งานสนับสนุนการวิจัย งานบริการยืม-คืน งานเทคโนโลยีห้องสมุด งานวารสาร สิ่งพิมพ์พิเศษ สื่อโสตทัศนวัสดุ และงานอื่น ๆ โดยอาจดำรงตำแหน่งเป็นบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ เจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ หรือ ตำแหน่งงานที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง

  2. คณะกรรมการประเมินผลงานวิชาการ หมายถึงใครบ้าง
    คำตอบ: คณะกรรมการประเมินผลงานวิชาการ หมายถึง ผู้บริหารห้องสมุด หรือ ผู้แทน และผู้ทรงคุณวุฒิ ในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 3-5 คน

  3. งานวิชาการ ครอบคลุมถึงงานประเภทใดบ้าง
    คำตอบ: งานวิชาการ หมายถึง งานด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ในเนื้องานที่เชี่ยวชาญ ที่ใช้เพื่อประเมินขอรับใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุด มี 2 รูปแบบ คือ
    1. การจัดทำโครงการเพื่อพัฒนางาน (Development Project) หรือ
    2. ผลงานการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research - R2R) ที่ผ่านการนำเสนอในเวทีระดับชาติ หรือ นานาชาติ หรือ ผลงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในส่วนงาน

  4. ใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุด ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอายุกี่ปี
    คำตอบ: ใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุด ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอายุ 5 ปี

หมวด 2 เกณฑ์การพิจารณาเพื่อขอใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุด

ครอบคลุมข้อมูลด้านต่าง ๆ ได้แก่ คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ยื่นขอใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุด ความรู้ความสามารถในวิชาชีพห้องสมุด และความรู้ความสามารถอื่นที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน


  1. คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ยื่นใบสมัคร มีลักษณะอย่างไร
    คำตอบ: คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ยื่นขอใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุด มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานหลักที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพห้องสมุด อย่างน้อย 5 ปี

  2. หลักฐานการแสดงความรู้ความสามารถในวิชาชีพอย่างน้อยกี่หลักสูตร ครอบคลุม กี่หมวดหมู่ อะไรบ้าง
    คำตอบ: หลักฐานการแสดงความรู้ความสามารถในวิชาชีพ มีลักษณะดังนี้
    1. ใบรับรอง หรือ ใบประกาศนียบัตร ผ่านการอบรม ตามกรอบเนื้อหาความรู้ด้านวิชาชีพห้องสมุด อย่างน้อย 4 หลักสูตร ครอบคลุมความรู้ 3 หมวดหมู่ จาก Core Library Function (อย่างน้อย 2 หลักสูตร) English and Communication (อย่างน้อย 1 หลักสูตร) และ Regulations and Relating topics (อย่างน้อย 1 หลักสูตร) โดยใบรับรอง หรือ ใบประกาศนียบัตร ต้องมีอายุไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ยื่นแบบแบบฟอร์มแสดงความจำนงขอใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    2. ผลงาน
      1. การจัดทำโครงการเพื่อพัฒนางาน (Development Project) หรือ
      2. ผลงานการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research - R2R) ที่ผ่านการนำเสนอในเวทีระดับชาติ หรือ นานาชาติ หรือ ผลงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในส่วนงาน
  3. ดาวน์โหลดหลักฐานการผ่านการอบรมได้จากที่ใด
    คำตอบ: สามารถดาวน์โหลดหลักฐานการผ่านการอบรมได้ที่ https://www.cuerpapp.chula.ac.th หรือ Application : SAP Fiori Client โดยใช้การเข้ารหัส username และ password ของ CUNET (email @chula.ac.th)

  4. ความรู้ภาษาอังกฤษควรอยู่ในระดับใด ใช้การสอบใดเป็นเกณฑ์
    คำตอบ: รับพิจารณาผลคะแนนภาษาอังกฤษทุกระดับคะแนน เช่น CU CULI, CU-TEP หรือ TOEFL, IELTS เป็นต้น (ผลคะแนนภาษาอังกฤษ ต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่ยื่นแบบแบบฟอร์มแสดงความจำนงขอใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

หมวด 3 การวัดและประเมินงานวิชาการ

ครอบคลุมข้อมูลด้านต่าง ๆ ได้แก่ ระดับคุณภาพของผลงาน และผลการประเมิน


  1. การวัดและประเมินงานวิชาการมีกี่ระดับ และผู้รับการประเมินจะต้องได้รับคะแนนรวมเท่าไร
    คำตอบ: การวัดและประเมินงานวิชาการมี 5 ระดับ ดังนี้
    • ดีเด่น = 5 คะแนน
    • ดีมาก = 4 คะแนน
    • ดี = 3 คะแนน
    • พอใช้ = 2 คะแนน
    • ควรปรับปรุง = 1 คะแนน
    โดยผู้รับการประเมินจะต้องได้รับคะแนนรวม 3.5 คะแนนขึ้นไป

หมวด 4 ลักษณะผลงานวิชาการเพื่อยื่นขอใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุด

ครอบคลุมข้อมูลด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) การจัดทำโครงการเพื่อพัฒนางาน (Development Project) 2) ผลงานการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research - R2R)


  1. ผลงานการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research - R2R) มีกี่ประเภท และย้อนหลังได้ไม่เกินกี่ปี
    คำตอบ: ผลงานการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research - R2R) ที่สามารถใช้ยื่นขอใบรับรองวิชาชีพได้ มี 2 รูปแบบดังนี้
    1. ผลงานได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ หรือ รายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ (Proceeding) ในระดับชาติ หรือ นานาชาติ หรือ
    2. ผลงานได้ผ่านการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการในเวทีระดับชาติ หรือ นานาชาติ มาแล้ว โดยมีประกาศนียบัตรการเข้าร่วมนำเสนอผลงาน รวมถึงได้รับรางวัล (ถ้ามี) และผู้ขอรับการประเมินต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลัก (Main Author / Main Corresponding) โดยต้องมีสัดส่วนความรับผิดชอบในผลงานดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และต้องเป็นผลงานที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี


    หมวด 5 ขั้นตอนการยื่นขอใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุด

    ครอบคลุมข้อมูลด้านต่าง ๆ ได้แก่ กระบวนการยื่นขอรับใบรับรองฯ แบบฟอร์มแสดงความจำนงขอใบรับรองฯ


    1. การขอใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2565 ต้องดำเนินการอย่างไร
      คำตอบ: สามารถเข้าดูขั้นตอนการดำเนินการได้จาก“เกณฑ์การขอใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2565" และดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขอใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุดฯ ได้ที่ https://www.car.chula.ac.th/chulalinet.php หรือเข้าถึงผ่าน Link ได้ที่นี่ https://t.ly/_eOw หรือ https://chula-my.sharepoint.com/:f:/g/personal/rabiab_s_chula_ac_th/EslZUuRwXNZKga3QH1YplKMB4ybxoo9Sp0COji5vMra08g?e=qfTSrr (ต้อง Login ผ่านระบบ One Drive ของ Chula Account)

    2. ยื่นใบสมัครขอใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2565 ได้จากที่ไหน
      คำตอบ: ยื่นใบสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ที่ https://forms.office.com/r/wjxCwgL7eA (ผู้สมัครต้องทำการ Login ผ่าน Account One Drive ของจุฬาฯ จึงจะสามารถเข้าสู่ระบบการสมัครได้)

    3. สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นขอใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุด ได้ผ่านช่องทางใดบ้าง
      คำตอบ: สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: คณะทำงานเพื่อจัดทำใบรับรองด้านวิชาชีพห้องสมุดภายใต้ คณะกรรมการประสานงานห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      โทร. 02-218-2936, 02-218-4890, 02-218-8046
      E-mail: libcertificate@car.chula.ac.th