function hideloginbutton() { if (window.location.href.indexOf("chula.idm.oclc.org") > -1) { document.getElementById("linkl").style.display = "none"; document.getElementById("linklo").style.display = "block"; } }
Office of Academic Resources
Chulalongkorn University
Chulalongkorn University

Home  /  OAR Recommended Books


ภาษา การสื่อสาร และโรคซึมเศร้า : การสำรวจเบื้องต้นเพื่อความเข้าใจโรคซึมเศร้าและผู้มีภาวะซึมเศร้าในสังคมไทย

ภาษา การสื่อสาร และโรคซึมเศร้า : การสำรวจเบื้องต้นเพื่อความเข้าใจโรคซึมเศร้าและผู้มีภาวะซึมเศร้าในสังคมไทย

โครงการวิจัยนี้ ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประจำปี พ.ศ. 2559 เป็นการวิจัยเชิงบูรณาการระหว่างวิจัยเชิงปริมาณกับวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยข้ามสาขาระหว่างภาษา การสื่อสาร และจิตวิทยา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงสำรวจอุบัติการณ์ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยไทย กรณีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำรวจภาษาที่ใช้สื่อสารเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในวาทกรรมสาธารณะและวาทกรรมของนักศึกษาที่มีภาวะซึมเศร้า เพื่อค้นหาลักษณะทางภาษาที่บ่งชี้สัญญาณของโรคซึมเศร้า สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือสื่อสารโรคซึมเศร้าที่เหมาะสมต่อไป วิธีวิจัยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ CES-D แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า แบบประเมินโรคซึมเศร้า ใช้ข้อมูลการบันทึกชีวิตประจำวันต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดือน และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ด้านอุบัติการณ์ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอัตราร้อยละ 23.3 ซึ่งสูงกวาอัตราร้อยละ 4 ของประชากรไทยที่เข้าข่ายภาวะซึมเศร้าตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลกปี ค.ศ. 2017 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และพบว่านักศึกษาเพศชายมีอัตราเข้าข่ายภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศหญิงซึ่งเป็นอุบัติการณ์ที่ต่างจากที่อื่น ด้านภาษาซึมเศร้าของนักศึกษา พบว่ามีลักษณะเด่นที่การใช้คำบ่งชี้บุคคลที่เป็นผู้พูดหรือสรรพนามบุรุษที่ 1 ที่เน้นการกผู้รับซึ่งบ่งชี้ว่าผู้พูดเป็นผู้รับสภาพและเป็นผู้ถูกกระทำ การใช้ศัพท์ที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกทางลบ... ซึ่งสอดคล้องกับวาทกรรมการแพทย์ที่เผยแพร่ในสาธารณะ... ด้านการวิเคราะห์เรื่องเล่า พบว่ามีแบบเรื่องของเรื่องเล่าโรคซึมเศร้าที่แสดงให้เห็นบริบทชีวิตของนักศึกษาที่ส่วนใหญ่มีประสบการณ์เป็นโรคซึมเศร้าก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัย ปมเกี่ยวกับคนในครอบครัว เรื่องเพื่อนและแฟน เรื่องการเรียน จนทำให้เป็นโรคซึมเศร้า เมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยก็ยังต้องเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าควบคู่ไปด้วย ส่วนวาทกรรมในสื่อสาธารณะ พบว่ามีการสื่อสารที่ทำให้เห็นว่าการสื่อความหมายเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าต่างมุมมองกัน ระหว่างมุมมองทางการแพทย์และวาทกรรมสื่อมวลชน... การศึกษาวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารโรคซึมเศร้าในสังคมไทยควรเน้นการให้ข้อมูลเชิงประสบการณ์ที่หลากหลาย และควรให้ความรู้เชิงมิติทางสังคมที่จะทำให้เข้าใจบริบทชีวิตที่เป็นปัจจัยไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ การดูแลปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยไทยควรที่จะต้องพิจารณาและตระหนักถึงความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในบริบทครอบครัวและบริบทเฉพาะของสถาบันการศึกษาด้วย เพื่อให้มีระบบการดูแลและให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตแก่นักศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนต่อไป

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “จะซึม จะเศร้า ก้าวผ่านได้” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กันยายน 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Arts LibraryR118 จ215ภCHECK SHELVES
Arts LibraryR118 จ215ภCHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)616.8527 จ285ภ 2563CHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)616.8527 จ285ภ 2563CHECK SHELVES



Location



Office of Academic Resources, Chulalongkorn University, Phayathai Rd. Pathumwan Bangkok 10330 Thailand

Contact Us

Tel. 0-2218-2929,
0-2218-2927 (Library Service)
0-2218-2903 (Administrative Division)
Fax. 0-2215-3617, 0-2218-2907

Social Network

  line

facebook   instragram