สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


27 กุมภาพันธ์ 2567

Chinese New Year Joy! Tour 5 essential Chinese shrines in Bangkok, showcasing the diverse Chinese communities in Thailand.

Happy Chinese New Year 2024!
 
 
Happy Chinese New Year 2024!
Let's explore 5 significant Chinese shrines in Bangkok, categorized by the main Chinese groups in Thailand: Teochew, Hokkien, Hainanese, Cantonese, and Hakka. These five Chinese communities are distinguished not only by their unique languages, cuisines, arts, and traditions but also by their distinct architectural styles. Now, let's take a closer look at each group's shrines.
 
ตรุษจีนปีนี้ พาไปทำความรู้จัก 5 ศาลเจ้าสำคัญในกรุงเทพฯ ซึ่งแบ่งตามชาวจีน 5 กลุ่มหลักในเมืองไทย ได้แก่ แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน ไหหลำ กวางตุ้ง และแคะ คนจีนทั้ง 5 กลุ่มนี้ ไม่เพียงมีเอกลักษณ์ต่างกันด้าน ภาษา อาหาร ศิลปะและประเพณีเท่านั้น แต่ลักษณะสถาปัตยกรรมก็ยังต่างกันอีกด้วย ว่าแล้วก็ไปดูศาลเจ้าของชาวจีนแต่ละกลุ่มกัน
 
Lao Ben Tou Gong Shrine
 
Lao Ben Tou Gong Shrine, in the Samphanthawong district, is an ancient shrine dating back to the early Rattanakosin era, established by Teochew Chinese settlers during the late reign of King Rama II. The current shrine structure was rebuilt during the reign of King Rama VI, featuring the Chaoshan architectural style, a double-tiered roof at the entrance compound, and distinguished roof ridge decorations with several figures such as human, flora, and fauna, covered with porcelain mosaics. The shrine’s exterior walls, divided into squares decorated with narrative paintings and auspicious symbols, are also interesting to see. The principal image of the shrine is Tua Lao Ye.
 
ศาลเจ้าเล่าปูนเถ้ากง เขตสัมพันธวงศ์ เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างโดยชาวจีนแต้จิ๋วที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในปลายสมัยรัชกาลที่ 2 อาคารศาลเจ้าปัจจุบันสร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 ตามแบบสถาปัตยกรรมเฉาซ่านซึ่งสัมพันธ์กับวัฒนธรรมแต้จิ๋ว อาคารทางเข้าเป็นผนังทึบ ผนังด้านนอกแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมประดับภาพเล่าเรื่องหรือสัญลักษณ์มงคล เทพประธานประจำศาลเจ้า คือ เทพเจ้าตั่วเหล่าเอี้ย หรือที่ชาวไทยรู้จักในนามเจ้าพ่อเสือ
 
 
 
Guan Yu Shrine (Somdet Chao Phraya), in the Khlong San districtGuan Yu
Guan Yu Shrine (Somdet Chao Phraya), in the Khlong San district, is among the first Chinese shrines in Bangkok. It houses three statues of the deity Guan Yu, with the smallest one recognized as the oldest. According to the story, Hokkien Chinese who migrated to settle in Khlong San brought it from Fujian province around 1736 during the Ayutthaya period. It is believed that touching the statue’s feet while praying will make a wish come true.
 
ศาลเจ้ากวนอู (สมเด็จเจ้าพระยา) เขตคลองสาน ประดิษฐานเทพเจ้ากวนอู 3 องค์ องค์ที่เก่าแก่ที่สุด ได้แก่ เทพเจ้ากวนอูองค์เล็ก เชื่อกันว่าหากอธิษฐานขอพรเจ้าพ่อกวนอูและแตะที่เท้าของเจ้าพ่อก็จะสมหวังในเรื่องที่ขอ
 
 
 
Guangdong Shrine
 
Guangdong Shrine, in the Pom Prap Sattru Phai district, was built by Cantonese merchants. It stands out as the only Cantonese shrine in Bangkok constructed during the reigns of King Rama I to King Rama V. There are three principal Buddha images, including Shakyamuni Buddha, Bhaisajyaguru Buddha, and Amitabha Buddha. The interior building employs the Cha Liang weight-bearing structure, a popular structure in Guangdong Province. Additionally, the shrine was registered as a religious premise by the Fine Arts Department in 2001.
 
ศาลเจ้ากวางตุ้ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย รู้จักกันอีกชื่อว่าศาลเจ้ากว่องสิว สร้างโดยพ่อค้าชาวจีนกวางตุ้ง และเป็นศาลเจ้าจีนของชาวกวางตุ้งแห่งเดียวในกรุงเทพฯ ที่สร้างในช่วงรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี 2544 ไปสักการะพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ ได้แก่ พระเจ้าอมิตาภะ พระศากยะมุนี และพระไภษัชยคุรุ และยังมีรูปเคารพอื่นๆ  อีก เช่น 18 พระอรหันต์ พระโพธิสัตว์กวนอิม เจ้าแห่งทรัพย์ เป็นต้น
 
 
Chui Bo Niao Shrine Mae Thapthim
 
Chui Bo Niao Shrine (Mae Thapthim), in the Dusit district, is among the oldest Hainanese temples in Bangkok. Legend claims that the Chao Mae Chui Bo Niao images were found floating downstream in the Chao Phraya River and lodged near Krung Thon Bridge, where they were then housed in this shrine. To worship the goddess, people burn nine joss sticks and offer garlands, flowers, fruits, ducks, chickens, colored cloth, seven-color garlands of 3.5-meter length, kites, and pearl necklaces.
 
ศาลเจ้าจุ้ยโบเนี้ยว หรือศาลเจ้าแม่ทับทิม เขตดุสิต เป็นหนึ่งในศาลเจ้าของชาวไหหลำที่เก่าแก่มากที่สุดในกรุงเทพฯ ตำนานเล่าสืบกันว่าเจ้าแม่จุ้ยโบเนี้ยวลอยน้ำมาจากทางตอนเหนือของแม่น้ำเจ้าพระยา และมาหยุดที่บริเวณอันเป็นที่ตั้งของสะพานกรุงธนในปัจจุบัน การสักการะเจ้าแม่จุ้ยโบเนี้ยว นิยมจุดธูป 9 ดอก ถวายพวงมาลัยดอกไม้ 7 สี ยาว 7 ศอก ดอกไม้ ผลไม้ เป็ด ไก่ ผ้าสี ว่าว และสร้อยไข่มุก
 
 
Rong Kueak Shrine
 
Rong Kueak Shrine (Han Wang Gong Shrine), in the Samphanthawong district, was built by the Hakka Chinese merchant community during the reign of King Rama V. Han Wang Gong is the principal image of the shrine, housed in an ancient and beautifully carved wooden pavilion. The front wall of the building entry has round windows and rectangular frames, each bearing stucco decorations with ceramic finishes and painting, showing the typical Hakka architecture found in Guangdong, the hometown of the Hakka people.
 
ศาลเจ้าโรงเกือก หรือศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง (ภาษาจีนแคะ) เขตสัมพันธวงศ์ สร้างโดยกลุ่มพ่อค้าชาวจีนแคะสมัยรัชกาลที่ 5 ภายในประดิษฐานเทพเจ้าฮ้อนหว่องกุงเป็นเทพองค์ประธานในซุ้มไม้แกะสลักที่เก่าแก่และงดงามมาก ตัวอาคารคงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมแบบ “เค่อกว่างตง” ซึ่งพบเห็นในถิ่นเดิมของชาวจีนแคะ เช่น การแบ่งช่องสี่เหลี่ยมบนผนังทางเข้า ปั้นปูนประดับกระเบื้องผสมกับการเขียนภาพจิตรกรรมเล่าตำนานต่างๆ
 
The following books have been used as reference sources for the content provided:
............................................................................................................................
 
Rong Kueak Shrine (Han Wang Gong Shrine), in the Samphanthawong district
 
 
ข้อมูลอ้างอิง:
กรุงเทพมหานคร, สำนักผังเมือง, (2559). ศาลเจ้า ศรัทธาสถานแห่งบางกอก. สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร
ไชยพจน์พานิช, อชิรัชญ์. (2561). ศาลเจ้าจีนในกรุงเทพฯ. มติชน
ไชยพจน์พานิช, อชิรัชญ์. (2565). เทพเจ้าจีนในกรุงเทพฯ. มติชน

views 262